นวัตกรรมรูปแบบการบริหาร BP SMART Model


สภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

          กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาที่จะต้องพัฒนากำลังคนให้มีขีดความสามารถ และศักยภาพในการแข่งขันบนเวทีโลก มีแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันเตรียมความพร้อมประชากรวัยเรียนให้มีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ใน 3 ด้าน คือ 1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี 3. ทักษะชีวิตและอาชีพ (กระทรวงศึกษาธิการ,2558) เพื่อตอบสนองการดำเนินนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น รวมถึงแนวทางในการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม ที่ได้พัฒนานวัตกรรมรูปแบบการบริหาร BP SMART Model
          ในปีงบประมาณ 2567 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น กำหนดนโยบายและจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดด้วยวิสัยทัศน์ “องค์กรแห่งนวัตกรรม นำคุณภาพการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้สู่อาชีพ” และเพื่อให้การพัฒนาการศึกษาเป็นไปตามนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพด้วยนวัตกรรม “อาชีวนวัตวิถี” สอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ 2567 ดังนี้

  • จุดเน้นที่ 1 ด้านการประกันคุณภาพ
  • จุดเน้นที่ 2 ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
  • จุดเน้นที่ 3 ด้านโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียม การเข้าถึงบริการทางการศึกษา
  • จุดเน้นที่ 4 ด้านทักษะภาษา
  • จุดเน้นที่ 5 ด้านทักษะด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล
  • จุดเน้นที่ 6 ด้านทักษะอาชีวนวัตวิถี
  • จุดเน้นที่ 7 ด้านองค์กรภควันตภาพวิถี
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะและทักษะอาชีพ (อาชีวนวัตวิถี) ที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนานวัตกรรมประกอบอาชีพตามวิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่น จนสามารถพัฒนาตนเองไปเป็นผู้ประกอบการ เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม Learning and innovation skills (4Cs) สอดคล้องกับนโยบายจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ดังนี้
  • จุดเน้นที่ 1 ด้านการประกันคุณภาพ
  • จุดเน้นที่ 2 ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
  • จุดเน้นที่ 3 ด้านโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียม การเข้าถึงบริการทางการศึกษา
  • จุดเน้นที่ 4 ด้านทักษะภาษา
2. ทักษะความรู้ด้านดิจิทัล Digital literacy skills (IMT) สอดคล้องกับนโยบายจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ดังนี้
  • จุดเน้นที่ 5 ด้านทักษะด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล
  • จุดเน้นที่ 7 ด้านองค์กรภควันตภาพวิถี
3. ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต Career and life skills (FLIPS) สอดคล้องกับนโยบายจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ดังนี้
  • จุดเน้นที่ 6 ด้านทักษะอาชีวนวัตวิถี
การจัดกิจกรรมชุมนุมเพื่อการเรียนรู้เป็นผู้ประกอบการ (อาชีวนวัตวิถี) นวัตกรรมรูปแบบการบริหาร BP SMART Model แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้ 1.ทักษะระดับพื้นฐาน (Basic Skill) 2.ทักษะระดับมืออาชีพ (Professional Skill) โดยใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA ในการดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนการบริหารสถานศึกษาด้วยนวัตกรรมรูปแบบการบริหาร BP SMART Model

          โรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม ได้พัฒนานวัตกรรมรูปแบบการบริหารสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ชื่อว่า BP SMART Model เพื่อให้ครูและนักเรียนเกิดทักษะ ดังนี้ 1.ทักษะระดับพื้นฐาน (Basic Skill) 2.ทักษะระดับมืออาชีพ (Professional Skill) โดยใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA ในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม ตามขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นวางแผน (Plan) มีปัจจัยนำเข้า (Input) คือการศึกษานโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายสำนักงานคระกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น และนโยบายของโรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม เพื่อกำหนดทิศทาง และวางแผนปฏิบัติงานในแต่ละปีการศึกษา

2. ขั้นดำเนินการ (DO) มีกระบวนการดำเนินงาน (Process) ด้วยการขับเคลื่อนทักษะระดับพื้นฐาน (Basic Skill) บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้รูปแบบ B SMART เพื่อให้ครูและนักเรียนเกิดทักษะระดับพื้นพื้นฐาน 3ด้าน คือ 2.1 ทักษะด้านความรู้และนวัตกรรม 3.2 ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 3.3 ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต โดยประยุกต์ใช้แนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2-3-4 ดังนี้ 2 เงื่อนไขคือ “เงื่อนไขคุณธรรม เงื่อนไขความรู้” 3หลักการ คือ “พอประมาณ มีเหตุผล ภูมิคุ้มกัน” 4มิติสมดุล คือ “เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม” เพื่อไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ครูและนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม จะต้องมี ทักษะระดับพื้นฐาน (Basic Skill) ดังนี้


    3. ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินการที่เกิดเป็นทักษะ (Output) จนเชี่ยวชาญเกิดทักษะระดับพื้นฐาน (Basic Skill) และพัฒนาต่อยอดตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของตนเองจนเกิดผลลัพธ์ (Outcome) เป็นทักษะระดับมืออาชีพ (Professional Skill) ใน 3ด้านดังนี้ 1.ด้านความรู้ 2.ด้านความสามารถ 3.ด้านคุณภาพ


    4. ขั้นปรับปรุง (ACT) เป็นการนำผลลัพธ์ข้อเสนอแนะที่ได้จากทักษะระดับมืออาชีพ (Professional Skill) มาพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์เพื่อการศึกษา (New Vision For Education)

    1.Learning and innovation skills (4Cs) : ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
     - Critical thinking การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา
     - Creativity การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
     - Collaboration การทำงานเป็นทีม
     - Communication การสื่อสาร

    2.Digital literacy skills : ทักษะความรู้ด้านดิจิทัล
     - Information literacy การรู้เท่าทันข้อมูลสารสนเทศ
     - Media literacy การรู้เท่าทันสื่อ
     - Technology literacy การรู้เท่าทันเทคโนโลยี

    3.Career and life skills : อาชีพและทักษะชีวิต
     - Flexibility การปรับตัว
     - Leadership ความเป็นผู้นำ

     - Initiative ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
     - Productivity การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต
     - Social Skills ทักษะทางด้านสังคม
    มีการบูรณาการหลักสูตรอาชีวนวัตวิถีสู่การเป็นผู้ประกอบการทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาในรูปแบบกิจกรรมชุมชุม การปรับปรุงหลักสูตรในรายวิชาเพิ่มเติม หรือจัดทำ MOU ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนแบบทวิศึกษาควบคู่กันไป โดยมีการดำเนินการตามรูปแบบ SMART ดังนี้

    S : Strategy การกำหนดกลยุทธ์
    M : Manage การบริหารจัดการที่ดี
    A : Activity กิจกรรม
    R : Relationship ความสัมพันธ์
    T : Technology เทคโนโลยี



    ผู้ดูแลระบบ